top of page
Writer's pictureChin

อ่านระหว่างบรรทัด (Read Between The Line)

ตอนผมเรียนปริญญาโทอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ มีหัวข้อนึงตอนเรียนการทำวิจัย (Research Method) ซึ่งกระแทกเข้าหัวผมอย่างแรง กระแทกจนมันทำให้ผมชอบทดลอง ชอบคิด ชอบมองอะไรในหลายๆมุม

ศาสตราจารย์ Hoffman เป็นศาสตราจารย์ที่สอนผมในเรื่องงานวิจัยท่านกล่าวว่า

‘งานวิจัยใดๆ ทั้งหมด ทั้งมวล ทั้งสิ้น มีผลกับเป้าหมายในการวิจัย มิใช่คนทั่วไป หรือประชากรทั้งหมด’

หมายความว่า... ?

ยกตัวอย่าง...

การวิจัย ‘การกินแป้งก่อให้เกิดโรคอ้วน‘ ในกลุ่มคน ‘Sendentary’ หรือ วิจัยเฉพาะคนที่วันนึงขยับตัวน้อยมาก ก็จะเจาะกลุ่มไปที่คนที่ เล่นเกม ดูทีวี นั่งทั้งวัน เดินน้อยกว่าวันละ 1,000 ก้าว มิใช่ในคนที่ออกกำลังกาย

การวิจัยเรื่อง ‘รับประทานโปรตีนแล้วค่าไตสูง’ ใน ‘ผู้ป่วยโรคไต’ ก็จะเจาะไปที่คนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว มิใช่ในคนที่มีสภาพไตปกติ

การวิจัยเรื่อง ’ผลเลือดดีขึ้นหลังการรับประทานมังสวิรัติเป็นระยะเวลา 10 ปี’ ในคนที่ ’ทานมังสิวิรัติมาแล้ว 10 ปี’ มิใช่คนที่กินเฉพาะเทศกาลเจ หรือ กินมังสวิรัติเฉพาะวันพุธ

สังเกตุว่าหัวข้องานวิจัยและกลุ่มตัวอย่างจะเจาะจงอยู่แล้ว และทำเพื่อประโยชน์ใดๆต้องดูที่เป้าหมายงานแต่ละชิ้น

บางงานทำเพื่อระดมทุนเพื่อจะขอลายเซ็นและงบจากรัฐบาลเพื่อไปทำผลิตภัณฑ์สักอย่าง (อาจจะเพื่อผลประโยชน์ของทางรัฐบาลเอง)

บางงานทำเพื่อชี้เป้าตลาดของบริษัทยายักษ์ใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง (เพื่อขายยาลดความดัน ลดความอ้วนต่างๆ เป็นอุตสาหกรรม)

บางงานทำเพื่อไปพัฒนาต่อในนักกีฬา และ นักกีฬาเท่านั้น

ประเด็นที่ผมพยายามชี้คือให้ฝึก ‘อ่านระหว่างบรรทัด’ หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Read Between The Line หรือการอ่านเพื่อจับใจความที่แท้จริงของสิ่งที่กำลังอ่าน มิใช่อ่านเพื่อเก็บข้อมูลอย่างเดียว แต่ต้องอ่านแล้วคิดตาม มองบริบทของสิ่งที่อ่านโดยรวมว่าสิ่งที่อ่าน สิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อจริงๆ และสาระสำคัญที่จับไปใช้ได้จริงๆคืออะไร

ศาสตราจารย์ Hoffman ได้กล่าวปิดท้ายคาบว่า

งานวิจัยจะมีประโยชน์ที่ก็ต่อเมื่อ

อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ

ดูว่าใครเป็นคนให้งบการวิจัย

และสุดท้ายประโยชน์ที่แท้จริงคือ

สรุปออกมาแล้ว

ไม่ใช่กลุ่มตัวแปรคนที่ถูกวิจัยได้ประโยชน์

แต่ ‘คุณ’นั่นแหละ

คุณเอาไปใช้อะไรได้ใน ชีวิตของคุณบ้าง


603 views2 comments

Recent Posts

See All
bottom of page